 |
โรคเบาหวานเกิดจากการทานอาหารหวานมากเกินไปจริงหรือไม่ คนอ้วนทุกคนต้องเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ทุกท่านที่เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น คงเริ่มสงสัยแล้วว่า ตนอาจจะเป็นโรคเบาหวาน เพราะปัจจุบันเราจะพบว่า การบริโภคที่มากเกินความจำเป็นเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมาย ตั้งแต่หัวใจ เบาหวาน ความดัน โรคข้ออักเสบ เพราะน้ำหนักตัว มากเกินกว่าจะรับได้ จากการสัมมนาเรื่อง
"กินอยู่อย่างไรกับโรคเบาหวานอย่างมีความสุข"
|
ที่แผนกโภชนาการ มี๊ด จอห์นสัน ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวาน แห่งประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า จริง ๆ แล้วโรคเบาหวาน เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อในตับอ่อน ผลิตสารที่เรียกว่า อินซูลินออกมาน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจาก ความอ่อนแอมาแต่กำเนิด และอาจเกิดจากการทานอาหารมากเกินไป ทำให้บางช่วงร่างกายผลิตอินซูลินมาไม่พอกับการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด และถ้าขาดอินซูลินก็มีผลทำให้ระบบไขมันผิดปกติด้วย ทำให้ร่างกายนำไขมันไปใช้ได้น้อยก็เลยมีไขมันท่วมในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นผู้ป่วยพิเศษที่ต้องการการดูแลทั้งระดับน้ำตาล และไขมัน มิฉะนั้นทั้ง 2 อย่าง จะทำให้เส้นเลือดแข็ง และอุดตัน เกิดมีโรคแทรกซ้อน เกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจตามมา
เบาหวานมีหลายประเภท เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงจำเป็นต้องดูแลให้ดี แม้มียารักษาอยู่หลายชนิด แต่เบาหวานทุกประเภทต้องมีการควบคุมอาหาร ให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ กินอย่างไรไม่ให้น้ำตาลขึ้นเร็ว ไม่ให้น้ำตาลขึ้นสูง ไม่ให้ไขมันขึ้นสูง และไม่ให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไปคนเข้าใจว่า เป็นเบาหวานต้องอดอาหาร จริงๆ แล้วไม่ใช่ แต่ต้องระวังในการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ให้พอเหมาะสมกับวัย และสภาพร่างกาย
โภชนาการสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน |
โภชนาการเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการวางแผนรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน การวางแผนต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่าง เจ้าหน้าที่โภชนากรและตัวผู้ป่วยเอง ต้องจำเป็นต้องคำนึงถึง รูปแบบการใช้ชีวิตและความเชื่อส่วนตัว ความชอบและไม่ชอบ ต่าง ๆของแต่ละคน ความเชื่อในสังคมปัจจัย ทางเศรษฐานะ การเฝ้าติดตามตรวจเลือดก่อนที่จะเข้าโปรแกรมโภชนาการ เพื่อวัดระดับน้ำตาล glycated hemoglobin ไขมัน และการวัดความดันโลหิต และตรวจการทำงานของไตล้วนเป็นสิ่งจำเป็น
เป้าหมายในการรักษาทางโภชนการ
นอกเหนือจากการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานปรับปรุงการรับประทานอาหาร ให้เหมาะสม หมั่นออกกำลังกายซึ่งช่วยให้การควบคุมโรคเบาหวานเป็นไปด้วยดีแล้ว ยังมีจุดหมายอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แก่
- การรักษาระดับน้ำตาล ให้ใกล้เคียงปกติ เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการปรับปรุงอาหารที่รับประทานร่วมกับใช้อินซูลิน หรือยาลด
ระดับน้ำตาลชนิดรับประทาน ร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- รักษาระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสม
- เลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานเหมาะสมต่อน้ำหนักตัว สำหรับผู้ใหญ่พลังงานที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการฃ
ปกติสำหรับเด็กและวัยรุ่น พลังงานชดเชยพอเพียงในสตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร หรือผู้ที่หายป่วย กำลังฟื้นจากไข้ น้ำหนักตัวที่เหมาะสมคือ น้ำหนักตัวที่ควรจะเป็นและผู้ป่วยสามารถคงน้ำหนักตัวระดับนั้นไว้ได้ในอนาคต อาจมิใช่น้ำหนักตัวที่มีความเชื่อตามแบบเดิม ๆ หรือตามความต้องการ แต่ไม่มีทางคงระดับน้ำหนักตัวนั้น ๆ ไว้ได้เป็นเวลานาน
- ป้องกัน และรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน เช่น ระดับน้ำตาลต่ำ การเจ็บป่วย ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย โรคไต โรคของระบบประสาทอัตโนมัติ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
- บำรุงและรักษาสุขภาพให้ดี โดยการอาศัย Dietary Guidelines for Americans และ Food Guide Pyramid หรือ Diabetes Food Guide Pyramid (ซึ่งเตรียมมาสำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะ) เพื่อการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสม
ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type I) |
ต้องจัดและกำหนดอาหารให้เหมาะสมกับการออกกำลังกายและการใช้อินซูลิน รับประทานอาหารตามเวลาที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ที่เลือกใช้ ผู้ป่วยยังตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อนำมาใช้ปรับปริมาณ และประเภทของอินซูลินที่ใช้ อย่างสม่ำเสมออีกด้วย วิธีการให้อินซูลินชนิดแบ่งใช้หลายครั้งต่อวัน หรือการอาศัย เครื่องอินซูลินปั๊ม จะช่วยให้การปรับจำนวนอินซูลินสะดวกมากชึ้น และสอดคล้องกับ อาหารที่รับประทานดียิ่งขึ้น
ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type II) |
ควรเน้นการดูแลรักษาระดับของน้ำตาล และไขมันในเลือด รวมไปถึงการควบคุม ความดันโลหิตให้เหมาะสม ปรับการรับประทานอาหารร่วมกับการลดน้ำหนักตัว ที่มากเกิน จะช่วยให้รักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การควบคุม เบาหวานในระยะยาว สะดวกยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรจำกัดพลังงานในอาหารลงปานกลาง (พลังงานน้อยกว่าร่างกายต้องการ 250-500 calories ต่อวัน) รับประทานสารอาหารให้ครบถ้วน จำกัดปริมาณไขมันที่รับประทานรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันอิ่มตัว และควรออกกำลังกายเสมอ การลดพลังงานในอาหารที่รับประทานไม่ว่าผู้ป่วยจะมีน้ำหนักตัวเท่าใดก็ตาม มีผลให้ร่างกายมีความไวต่ออินซูลิน มากขึ้น ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดีขึ้น และการลดน้ำหนักตัวประมาณ 5-9 กิโลกรัม ไม่ว่าเดิมจะน้ำหนักตัวเท่าใด มีผลให้ ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดลดลง ความดันโลหิตลดลง
การแบ่งอาหารที่รับประทานในแต่ละวันออกเป็นมื้อย่อย ๆ หลายมื้อร่วมกับ การออกกำลังกายและเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เมื่อวิธีการที่กล่าวมายังไม่เป็นผล จึงพิจารณาใช้ยาลดระดับน้ำตาลชนิดรับประทานหรืออินซูลิน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากในระดับ refractory obesity มักไม่ประสบผลสำเร็จด้วยวิธีการ ดังกล่าวมาแล้ว ปัจจุบันมีตัวยาใหม่ได้ผลสำหรับ ผู้ที่มี BMI >หรือ = 27 และมีปัญหาสุขภาพร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน หรือผู้ที่มี BMI >หรือ= 30 โดยไม่จำเป็นต้องมีปัญหาสุขภาพร่วมด้วย ผู้ที่มี BMI >หรือ= 35 อาจต้องอาศัย gastric reduction surgery
คุณศรีสมัย วิบูลยานนท์ ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้แนะนำ หลักในการเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยเบาหวานไว้ ดังนี้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ลดน้ำตาล
- เพิ่มใยอาหาร
- ลดปริมาณไขมัน โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
- บริโภคโปรตีน ซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แต่ควรเลือก เนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย
- ควรบริโภคผักให้มากในทุกมื้ออาหารและบริโภคผักให้หลากหลาย
วิธีปฏิบัติตนถ้าอยากจะตามใจปาก แต่ไม่ได้ให้ ้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูง |
รศ.วลัย อิมทรัมพรรย์ ที่ปรึกษาโภชนาบำบัด สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อรู้ว่าอาหารชนิดไหน จะบริโภคได้มากน้อยเพียงไร ก็สามารถบริโภคได้ทุกอย่างเหมือนคนทั่วไป
- กินอาหารแต่พออิ่ม
- เลือกผลไม้ที่ไม่หวานแทนขนม
- ระวังน้ำหวาน น้ำอัดลมและเบียร์ ไม่ดื่มมากเกินไป และถ้าดื่มควรงดของหวานมื้อนั้น
- ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักจะมีปัญหาไขมันสูงตามมา แสดงว่ามีปัญหาในการกำจัดไขมันจากเลือด หรือไม่สามารถ นำไปใช้ให้หมดได้ ดังนั้นสมาคมเบาหวานของหลายประเทศ รวมทั้งของไทยด้วย ต้องการให้ผู้ป่วยจำกัดการบริโภคไขมัน หากไม่กินอาหารเลยก็จะเกิดอาการน้ำตาลต่ำ ทำให้ใจสั่น เหงื่อแตก เป็นลม หรือหมดสติไปได้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และอาหารทางการแพทย์เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยเสริมสุขภาพให้ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ
เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบัน ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับโปรตีนเท่ากับบุคคลทั่วไป คือ ประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของพลังงานที่ได้รับตลอดทั้งวัน และควรได้รับโปรตีนทั้งที่มาจากสัตว์และพืช เมื่อผู้ป่วยมีไตเสื่อมสภาพ ควรลดการรับประทานโปรตีนลง การศึกษาหลายรายงาน พบว่าการจำกัดโปรตีนลงเหลือ 0.6 กรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวันชะลอการเสื่อมของ GFR ได้บ้าง แต่มีอีกรายงานที่ศึกษาผลการควบคุมอาหารที่มีต่อโรคไตไม่พบประโยชน์ของ การจำกัดโปรตีนในอาหาร การศึกษานี้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด 2 อยู่ร้อยละ 3
โดยสรุป ข้อมูลขณะนี้ แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีโรคไต รับประทานโปรตีนตาม RDAคือ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณร้อยละ 10 ของพลังงาน ที่ได้รับในหนึ่งวัน แต่เมื่อค่า GFR เริ่มลดลง ควรลดโปรตีนลงเป็น 0.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน สิ่งที่พึงระวัง คือปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากขาดสารอาหาร และการรับประทานอาหารที่จำกัดโปรตีน ควรได้รับการดูแล ใกล้ชิดโดยนักโภชนาการที่มีความชำนาญ
ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานไขมันร้อยละ 10-20 ของพลังงานทั้งหมด พลังงานที่เหลือ อีกร้อยละ 80 ควรได้รับจากคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน สัดส่วนของไขมันและคาร์โบไฮเดรตขึ้นกับภาวะของตัวผู้ป่วย และเป้าหมายในการรักษา พลังงานที่ผู้ป่วยควรได้รับจากไขมันขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ระดับไขมันชนิดต่าง ๆ ในเลือดของผู้ป่วย เป้าหมายในการควบคุมน้ำตาลกลูโคส ไขมัน และน้ำหนักตัว ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวและระดับไขมันในเลือดปกติควรยึดแนวทางของ National Cholesterol Education Program(NCEP) ว่า บุคคลที่อายุมากกว่า 2 ปี ควรจำกัดไขมันในอาหารให้น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพลังงานรวมทั้งวัน และไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ 10 ไขมันชนิด polyunsaturate น้อยกว่าร้อยละ 10 และไขมันชนิด monounsaturate ร้อยละ 10-15 หากผู้ป่วยมีปัญหาไขมันชนิด LDL-cholesterol ควรรับประทานไขมันชนิด saturate น้อยกว่าร้อยละ 7 และ cholesterol น้อยกว่าวันละ 200 มิลลิกรัม (NCEP step II diet) ทั้งนี้ยกเว้นไขมันชนิด polyunsaturate ในกลุ่ม omega 3 ซึ่งมีมากในปลา และอาหารทะเล ซึ่งรับประทานได้ตามปกติ ผู้ที่อ้วนและต้องลดน้ำหนักตัว ควรลดการรับประทานไขมันลง โดยอาจแนะนำให้ทานอาหารประเภทผักและผลไม้ และอาจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยยับการเปลี่ยนแป้ง ข้าว น้ำตาล ไม่ให้กลายเป็นไขมันสะสม ตามร่างกาย เช่น สารสกัดจากผลส้มแขกเป็นต้น
ผู้ที่มีปัญหา ไขมันชนิด triglyceride และ VLDL สูง ควรรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวชนิด monosaturated เพิ่มขึ้นปานกลาง เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ควรรับประทานไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ 7 ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามมา แต่เมื่อใดที่ระดับไขมัน triglyceride ในเลือดสูงเกิน 1000 มิลลิกรัม/ดล. จำเป็นต้องลดการบริโภคไขมันทุกชนิดลง ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 นอกเหนือจากการรับประทานยา เพื่อป้องกันโอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดตับอ่อนอักเสบการรับประทานไขมันชนิดอิ่มตัวและ cholesterol ลดลง ช่วยลดโอกาสเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจได้ เพราะโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
เส้นใยอาหารช่วยรักษาและป้องกันท้องผูก และโรคระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยให้รู้สึกอิ่ม และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานควรได้รับเส้นใยอาหารเท่ากับคนธรรมดาคือ 20-35 กรัมต่อวัน เส้นใยอาหารบางชนิดสามารถลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากทางเดินอาหาร แต่ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่มีความสำคัญในทางคลีนิค สำหรับสารอาหารบางตัวที่ขาด ซึ่งมีข้อยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยขาด chromium เรื้อรัง เช่นผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยาง เป็นเวลานาน การเสริม chromium จึงเกิดประโยชน์
ข้อมูลจาก นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 22 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2541 และ ข่าวสารด้านสุขภาพและชีวิต ศูนย์วิจัย มี้ด จอนห์สัน สหรัฐอเมริกา